Home » , , , » ท่องเที่ยวลำพูนที่วัดจามเทวี

ท่องเที่ยวลำพูนที่วัดจามเทวี

Written By Parttimejobdd on วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556 | 19:26


งานพิเศษ, ท่องเที่ยวลำพูน, รายได้เสริม, วัดจามเทวี

ท่องเที่ยวลำพูนที่วัดจามเทวี อารยธรรมโบราณที่งดงามอีกแห่งหนึ่งในประเทศไทย รอทุกท่านมาสักการะบูชาเพื่อเป็นสิริมงคลกับชีวิตอยู่นะค่ะ



ข้อมูลทั่วไป
วัดจามเทวีเป็นวัดที่มีความสําคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีความเก่าแก่มากวัดหนึ่งในจังหวัดลําพูนตั้งอยู่ถนนจามเทวีตําบลในเมือง อําเภอเมืองลําพูน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ๑๒ไร่ ๑ งาน ๕ตารางวาโดยทั่วไปเรียกกันว่าวัดกู้กุด ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าสร้างตั้งแต่สมัยใด ส่วใหญ่เป็นการสันนิษฐานจากเอกสารช้นหลัง ประกอบกับตํานานและนิยาย ซึ่งกล่าวกันว่าพระราชโอรสของพระนางจามเทวีคือพระเจ้ามหันตยศและพระเจ้าอนันตยศโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อถวายพระเพลิงแล้วโปรดให้สร้างเจดีย์เหลี่ยมมียอดหุ้มด้วยทองเรียกชื่อว่าสุวรรณจังโกฏิแต่จากการที่ได้พบศิลาจารึกวัดกู้กุด บริเวณเชิงพระธาตุเจดีย์กู้กุด (ศลาจาริก ลําพูนหลักที่สอง ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย จังหวัดลําพูน) ศิลาจารึกหลักนี้กล่าวถึงการปฏิสังขรณ์รัตนเจดีย์กู้กุด ที่ได้หักพังลงเนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ได้เกิดขึ้นในสมัยนั้น ฉะนั้นลักษณะทางศิลปกรรมของพระเจดีย์ที่วัดกู้กุดนี้น่าจะอยู่ในสมัยของพระเจ้าสรรพสิทธิ์ คือ พุทธศตวรรษที่๑๗ และน่าจะไม่เก่าเกินรัชกาลพระเจ้าสววาธิสิทธิ์หลังจากนั้นวัดนี้ก็คงถูกปล่อยให้ทิ้งร้างจนกระทั่งพ.ศ. ๒๔๗๙ เจ้าจักรคําขจรศักดิ์ได้อาราธนาครูบาศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนา มาช่วยก่อสร้างโบสถ์ วิหาร กุฏิ ตลอดจนบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถานที่สําคัญภายในวัดแล้วสถาปนาวัดจามเทวีขึ้นใหม่มีพระภิกษุอยู่จําพรรษาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่๒กันยายนพ.ศ. ๒๔๘๐ มีชื่อว่าวัดจามเทวีจนกระทั่งทุกวันนี้โบราณสถานที่สําคัญในวัดจามเทวี
๑. พระเจดีย์กู้กุด ลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมก่อด้วยศิลาแลง ฐานนล่างทําเป็นหน้ากระดานสามชั้นองค์เจดีย์มีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม ซ่อนลดหลั่นกันขึ้นไปห้าชั้นแต่ละชั้นจะมีซุ้มจระนําด้านละสามซุ้ม ภายในซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางประธานอภัย เป็นพระพุทธรูปปั้นหุ้มศิลาแลงแบบนูนสูง รวมทั้งหมด ๖๐ องค์ซุ้มจระนําทําเป็นซุ้มโค้งแบบสองหยักซึ่งเป็นลักษณะซุ้มสมัยทราวดีตอนปลาย กระหนกปั้นเป็นกระหนกผักกูด ตัวเหงาที่ปลายซุ้มเป็นแบบทราวดี บริเวณมุมทั้งสี่ของแต่ละชั้นยกเว้นชั้นบัวกลุ่ม และปล่องไฉน ส่วนยอดบนสุดได้หักหายไปจึงมีการเรียกเจดีย์องค์นี้ว่าเจดีย์กู้กุด พระเจดีย์องค์นี้ถือเป็นแบบสถาปัตยกรรมที่มีความสําคัญในศิลปกรรมหริภุญชัยในช่วงพุทธศตวรรษที่๑๗ - ๑๘ มีรูปแบบคล้ายกับสัตตมหาปราสาทที่เมืองโบลนนาลุวะ ประเทศศรีลังกาและเป็นแบบที่แพร่หลายเคยพบร่องรอยเจดีย์แบบนี้ที่ เวียงท่ากาน เวียงมโน และนิยมสร้างกันในสมัย ต่อมา ในแคว้นล้านนาและสุโขทัยเช่น วัดเจดีย์เหลี่ยม จังหวัดเชียงใหม่ วัดพญาวัดจังหวัดน่าน วัดมหาธาตุจังหวัดสุโขทัย
๒. เจดีย์แปดเหลี่ยม ลักษณะทางสถาปัตยกรรมมีแผนผังเป็นรูปแปดเหลี่ยมซ่อนลดหลั่นกันขึ้นไป สามารถแบ่งได้เป็นสามส่วน คือส่วนฐานประกอบด้วยฐานแปดเหลี่ยมซ่อนกันสองชั้น ถัดขึ้นไปเป็นชั้นบัวถลารองรับองค์เรือนธาตุโดยส่วนล่างของเรือนธาตุทําเป็นฐานลดท่องไม้ลงเล็กน้อยจากระดับผนังของเรือนธาตุส่วนเรือนธาตุมีผังเป็นรูปแปดเหลี่ยมทรงสูง ประดับซุ้มจระนําภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนซุ้มมีลักษณะเป็นวงโค้งสามวง
ที่มาของข้อมูล

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Floating Vertical Bar With Share Buttons widget by Making Different

รับข่าวสารงาน Part time ผ่านทาง E-mail:

กรอก E-mail ของคุณในช่องว่าง Parttime-job-dd