Home »
งานพิเศษ
,
ท่องเที่ยวลำพูน
,
รายได้เสริม
,
วัดพระพุทธบาทตากผ้า
» ท่องเที่ยวลำพูนที่วัดพระพุทธบาทตากผ้า
ท่องเที่ยวลำพูนที่วัดพระพุทธบาทตากผ้า
Written By Parttimejobdd on วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556 | 19:27
ท่องเที่ยวลำพูนที่วัดพระพุทธบาทตากผ้า อารยธรรมทางพระพุทธศาสนาที่งดงามอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย
ข้อมูลทั่วไป
พระพุทธบาทตากผ้าประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า บนเนินเขาระหว่างดอยม่อนช้างกับดอยเครือ ตําบลมะกอก อําเภอป่าซาง จังหวัดลําพูน ห่างจากตัวเมืองลําพูนไปทางทิศใต้ประมาณ22กิโลเมตรรอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่ในวิหารจตุรมุข มีอยู่สองรอยคือรอยพระพุทธบาทใหญ่ มีขนาดกว้างประมาณหนึ่งเมตร ยาวประมาณสองเมตรครึ่งรอยพระพุทธบาทเล็ก มีขนาดกว้างประมาณ 32นิ้ว ยาวประมาณ 1 เมตรกับ 26 นิ้ว ตามตานํ านกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล ณเวลาใกล้รุ่งวันหนึ่ง พระพุทธองค์ได้ทรงแผ่ข่ายพระญาณเพื่อตรวจดูสัตว์โลกผู้ควรแก่การบรรลุธรรม ก็ทรงทราบด้วยพระอนาคตังสญาณ (พระญาณหยั่งรู้ความเป็นไปในอนาคตตามความเป็นจริง) ว่าในดินแดนสุวรรณภูมิ (คือดินแดนที่ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของประเทศไทยในปัจจุบัน) จะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคงต่อไปในอนาคต สมควรที่พระองค์จะเสด็จไปประดิษฐานพระศาสนาไว้เมื่อทรงมีพระดํารินั้นแล้ว จึงได้เสด็จมาสู่สุวรรณภูมิโดยพุทธนิมิต มีพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ (ตามเสด็จ) พระองค์ได้เสด็จจาริกมาตามคามนิคมชนบทต่าง ๆ จนถึงถ้ํา ตับเต่าถ้ําเชียงดาวพระนอนขอนม่วง พระบาทยั้งหวีด และพระธาตุทุ่งตุม ตามลําดับ ได้ทรงเหยียบรอยพระบาท และประทานพระเกศาธาตุประดิษฐานไว้ในที่นั้นๆ ตามควรแก่พุทธอัชฌาศัยแล้วเสด็จเลียบลงมาตามฝั่งแม่น้ําปิงจนถึงวังน้ําแห่งหนึ่ง มีน้ําใสสะอาด มีที่ราบเตียนงาม พระพุทธองค์จึงได้ทรงหยุดพักและทรงเปลื้องจีวรให้พระอานนท์นําไปซัก สถานที่พระอานนท์เอาจีวรไปซักนี้ได้ชื่อว่าวังซักครัว มาจนถึงปัจจุบัน เป็นจุดที่อยู่ทางใต้ของสบกวงอันเป็นที่แม่น้ํากวงไหลมาบรรจบกับแม่น้ําปิง ส่วนจุดที่ตากจีวรซึ่งอยู่ใกล้ๆ กันนั้น
เป็นเนินศิลา บนผิวศิลาปรากฎเป็นรอยตารางรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส คล้ายกับผ้าจีวร ซึ่งจะเห็นเป็นตารางคล้ายแนวคันนาของอินเดียในสมัยนั้น ต่อจากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้เสด็จข้ามแม่น้ําแล้วจาริกไปตามลําดับ จนถึงบ้านแห่งหนึ่งไม่ห่างจากดอยม่อนช้างมากนักพระองค์ก็ทรงหยุดยืนแล้วผินพระพักตร์หว่าย (บ่าย) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้บ้านนั้นจึงได้ชื่อวาบ้านหว่าย ซึ่งปัจจุบันคือบ้านหวาย จากนั้นก็เสด็จ
ไปถึงลานผาลาด ซึ่งปัจจุบันคือบริเวณที่ตั้งวัดพระพุทธบาทตากผ้า ณที่นี้พระพุทธองค์ได้เหยียบพระบาทประดิษฐานรอยพระบาทลงไว้บนผาลาด แล้วตรัสพยากรณ์ไว้ว่า "ดูกรอานนท์สถานที่แห่งนี้จะปรากฎชื่อว่า พระพุทธบาทตากผ้าโดยนิมิตที่เราตถาคต มาหยุดพักตากผ้ากาสาวพัสตร์นี้และจะเป็นปูชนียสถานที่สักการะบูชาของมหาชน ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจะอานวยประโยชน์สุขแก่ปวงชนตลอด 5,000 พรรษา" หลังจากนั้นพระพทุธองค์ก็เสด็จไปทางทิศตะวันออกถึงหัวดอยม่อนช่างแล้วทรงประทับนอนแบบสีหไสยาสน์ ณ ที่นั้นจากนั้นได้ประทานพระเกศาแก่ตายายสองคนผัวเมียผู้เข้ามาปฏิบัติบํารุงพระพุทธองค์ด้วยภัตตาหารและน้ําต่อมาได้มีผู้ศรัทธาสร้างพระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์ขึ้นไว้ณที่นั้นได้ชื่อว่าพระนอนม่อนช่าง มาจนถึงปัจจุบันเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 3 พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งชมภูทวีปได้ส่งพระโสณะและพระอุตตระ มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิในครั้งนั้นมหาชนผู้ได้รับแสงสว่างจากพุทธธรรม จึงได้สร้างวัดพระพุทธบาทตากผ้าขึ้นและได้เเป้นปูชนียสถานสําคัญทางพระพุทธศาสนานับแต่นั้นมาจนประมาณปีพ.ศ. 1200 เศษพระนางจามเทวีได้ครองนครหริภุญชัย (ลําพูน) พระนางมีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากได้ทรงสร้างมณฑปครอบรอยพระพุทธบาท แล้วจัดให้มีการเฉลิมฉลองเป็นการใหญ่ ในปีพ.ศ. 1824 พระเจ้าเม็งรายมหาราช ตีได้เมืองหริภุญชัยก็ได้ทรงทํานุบํารุงพระพุทธบาทตากผ้าต่อมาจนสิ้นราชวงศ์เม็งรายเกิดศึกสงครามบ้านเมืองร่างวัดพระพุทธบาทตากผ้าก็เสื่อมโทรมไปวัดพระพุทธบาทตากผ้าในปีพ.ศ. 2375 คณะสงฆ์และฆราวาส โดยมีครูป่าปารมีแห่งวัดสะปุ้งหลวงเป็นหัวหน้าได้ร่วมมือร่วมใจกันสร้างวิหารหลังใหญ่ครอบมณฑปพระพุทธบาทไว้อีกชั้นหนึ่งเพื่อให้ผู้ที่มานมัสการพระพุทธบาท ได้รับความสะดวกสบายยิ่งขึ้น ต่อมาในปีพ.ศ.2472 คณะสงฆ์จังหวัดลําพูนมีพระพุทธิวงศ์ธาดาเจ้าคณะอําเภอปากบ่อง (ปัจจุบันคือป่าซาง ) อยู่วัดฉางข้าวน้อยเหนือเป็นประธาน ฝ้าย ฆราวาสมีหลวงวิโรจน์รัฐกิจ (เปรื่องโรจนกุล) นายอําเภอปากบ่องเป็นประธาน ได้ไปอาราธนาครูบาศรีวิชัย ซึ่งอยู่วัดบ้านปางอําเภอลี้มาเป็นประธานในการก่อสร้างวิหารจตุรมุขครอบรอยพระพุทธบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณีได้นําเสด็จพระเจ้ากรุงเดนมาร์กและพระราชินีอินกริด มานมัสการพระพทธบาทตากผ้าและได้ทรงจารึกพระปรมาภิไธยไว้บนแผ่นหินรูปใบเสมาเมื่อปีพ.ศ. 2505 คํานมัสการพระพุทธบาทตากผ้า มีดังนี้ "ยังตัตถะโยนะกะปุเร มุนิโนจะปาทัง ตัง ปาทะวะลัญชะนะมะหังสิระสานะมามิ" แปลว่า "รอยพระบาทใดของพระมหามุนีบรมศาสดามีอยู่ ณ เมืองโยนกข้าพเจ้าขอนมัสการ
พระบาทและรอยพระบาทนั้นด้วยเศียรเกล้า"
ที่มาของข้อมูล
“วัดพระพุทธบาทตากผ้า” 2550. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ: 5 กุมภาพันธ์. จาก http://www.heritage.thaigov.net/religion/prabat/index2.htm
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น