ท่องเที่ยวเชียงรายที่พระตําหนักดอยตุง
Written By Parttimejobdd on วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556 | 19:28
ท่องเที่ยวเชียงรายที่พระตําหนักดอยตุงสัมผัสบรรยากาศที่เย็นฉ่ำ
ข้อมูลทั่วไป
พระตําหนักดอยตุงอยู่บริเวณกม. ที่ 12 ทางหลวงหมายเลข 1149 เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานเพื่อทรงงานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีพระ-ตําหนักเป็นอาคารสองชั้นมีรูปทรงผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนากับชาเลย์ของสวิส มีการแกะสลักไม่ตามกาแลเชิงชายและขอบหน้าต่างเป็นลวดลายต่าง ๆ ฝีมือช่างชาวเหนือ เรือนไม้ 2 ชั้นเนินต่างระดับ สามารถมองเห็นทิวทัศน์เทือกเขาสลับซับซ้อนกลางห้องเป็นที่ประดิษฐานพระฉายาลักษณ์เพื่อมาเยือนได้สักการะเพดานดาวเป็นภาพระบบสุริยะและกลุ่ม
ดวงดาวอยู่ในตําแหน่งเดียวกับที่เคยปรากฏณ 21 ตุลาคมพ.ศ.2443 วันพระราชสมภพ รอบพระตําหนักประดับด้วยไม้ดอกนานาพันธ์สามารถชมห้องบรรทม และห้องทรงงานที่สะท้อนพระราชจริยวัตรอันงดงามเรียบง่าย
การเดินทาง
พระตําหนักดอยตุงอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 60 กิโลเมตรตามทางหลวงหมายเลข 110 ไป 45 กิโลเมตรแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1149 ไปประมาณ 15 กิโลเมตร สำหรับนักท้องเที่ยวที่เดินทางโดยรถประจําทางสามารถใช้บริการรถสองแถวสีม่วงบริเวณปากทางรถออกตั้งแต่ 07.00 น. มีรถออกทุก 20 นาทีเยี่ยมชมพระตําหนักเชียงรายอารยนครอายุกว่า 700 ปีมีมนต์เสน่ห์ล้ําลึกของวัฒธรรมล้านนากลมกลืนกันอยู่ในโอบล้อมของผืนป่าที่เริ่มคืนความเขียวชอุ่ม ภายหลังเกิดโครงการพัฒนาดอยตุงฯกว่า 30 ปีที่ผ่านมาด้วยพระบารมีของสมเด็จพระศรีนครินทรายรมราชนนีชาวเขาและชาว
พื้นราบในบริเวณรอบดอยตุงยอดสูงสุดของดอยนางนอน พรมแดนไทย – เมียนมาร์ได้เปลี่ยนวิถีจากการปลูกและเสพฝิ่นถางป่าตัดป่าและทําไร่เลื่อนลอยหันมาทําการเกษตร ปลูกพืชผักเมืองหนาวทําไร่กาแฟและแมคคาเดเมีย สร้างผลงานเย็บปักถักร้อยที่เชือมต่อวัตถุดิบพื้นถิ่นและหัตถศิลป์พื้นเมือง สู่การใช้งานในชีวิตประจําวันแบบสากลในขณะที่กลุ่มชน 30 ชาติพันธุ์ที่ยังคงอาศัยอยู่อย่างสงบตามไหล่เขาและบนดอยสูงแนบแน่นอยู่กับแระเพณีดั้งเดิมของตนโดยไม่ถูกวัฒนธรรมเมืองกลืนกิน วันนี้...ดอยตุงพร้อมต้อนรับผู้มาเยือนสู่วิถีชุมชนสัมมาชีพในโอบล้อมของสวนป่าและอุทยานที่แลล้วนด้วยไม้ดอกไม้ประดับ อันงดงามเกินบรรยาย
ที่มาของข้อมูล
“พระตําหนักดอยตุง” 2550. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ: 2 กุมภาพันธุ์. จาก http://web.chiangrai.net/tourcr/attraction/Doitung.php
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น